บทที่ 3 การแก้ปัญหาทางธุรกิจด้วยระบบสารสนเทศ
สรุป การแก้ปัญหาทางธุรกิจด้วยระบบสารสนเทศ
แนวคิดเชิงระบบ ( System Approach )
➤ แสดงถึงการปฏิวัติการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จากการคิดค้นของบริษัทการตลาด NFO โดยใช้เครื่องมืออำนวยความสะดวกในการสนทนาบนอินเทอร์เน็ตของ TalkCity เทคโนโลยีสามารถช่วยในการทำงานกลุ่มเป้าหมายออนไลน์ ช่วยในการพัฒนาสินค้า ช่วยสนับสนุนลูกค้าหรืองานอื่นๆ ระบบสารนสนเทศบนอินเทอร์เน็ตจึงเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน เพิ่มบทบาทในธุรกิจเทคโนโลยี ช่วยให้ธุรกิจทุกประเภทปรับปรุงประสิทธิภาพปละประสิทธิผล ทำงานของธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ทั้งการจัดการด้านการตัดสินใจ และร่วมมือในการทำงานเป็นกลุ่มให้เกิดความแข็งแกร่งในการต่อสู้ในเชิงธุรกิจที่เปลี่นแปลงอย่างรวดเร็ว
กำหนดปัญหาและแนวทางแก้ไข ( Defining Problams Opportunities )
➤ ปัญหาและแนวทางแก้ไขได้ถุกกำหนดให้เป็นขั้นตอนแรกขแงแนวคิดเชิงระบบ ปัญหา สามารถให้คำจำกัดความได้ว่าเป็นภาวะพื้นฐานที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการ แนวทางแก้ไข คือ ภาวะพื้นฐานที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ สัญญาณบอกเหตุจะต้องแยกออกจากคำว่า ปัญหา โดยสัญญาณบอกเหตุ Symptoms หมายถึง ปัญหาสำคัญที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงแต่มีแนวโน้มว่าจะเกิด
ตัวอย่าง สัญญาณบอกเหตุคือยอดขายสินค้าของบริษัทลดลง ปัญหาคือพนักงานขายต้องเสียยอดการสั่งซื้อสินค้าเพราะไม่สามารถได้รับข้อมูลเรื่องราคาสินค้าที่เป้นปัจจุบันและไม่ได้รับสินค้าตรงเวลา โอกาสในการแก้ไขคือสามารถจะเพิ่มยอดขายได้ หากพนักงานขายสามาถรับใบเสนอราคาและสินค้าอย่างรวดเร็ว
การคิดอย่างเป็นระบบ ( Systems Thinking )
➤ นักเขียนและที่ปรึกษาทางด้านการจัดการ เรียกการคิดอย่างเป็นระบบว่าเป็น กฏข้อที่ 5
( The fifth Discipline ) เซนก์ กล่าวว่า การจัดการคิดอย่างเป็นระบบไปพร้อมกับกฏข้ออื่นๆ ได้แก่ การควบคุมตนเอง การไม่อคติและไม่ท้อแท้ การแบ่งปันวิสัยทัศน์ร่วมกัน เรียนรู้เป็นทีมงาน เป็นสิ่งท่จะช่วยเติมเต็มความสามารถของบุคคลและความสำเร็จในธุรกิจของโลกที่มีแต่ความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
การพัฒนาทางเลือกในการแก้ปัญหาอื่นๆ ( Developing Alternative Solutions )
➤ แหล่งข้อมูลที่ดีของทางเลือกอื่น จะได้จาก ประสบการณ์ หรือแนวทางที่เคยใช้ได้ผลมาแล้วในอดีต อีกแหล่งข้อมูลหนึ่งก็คือ คำแนะนำจากคนอื่นๆ รวมทั้งคำแนะนำจากที่ปรึกษาและจากระบบผู้เชี่ยววาญ ( Expert Systems ) คุณควรใช้ทักษะในการแสวงหาวิธีการใหม่ร่วมกับแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยพิจารณาถึงข้อจำกัดทางด้าน การเงิน บุคลากร และทรัพยากรของบริษัท อันจะมองเห็นทางเลือกที่จะทำให้เป็นจริงได้
ประเมินทางเลือกในการแก้ไขปัญหาอื่น ( Evaluating Alternative Solutions )
➤ เมื่อทางเลือกในการแก้ปัญหาได้ถูกพัฒนาขึ้นให้ประเมินข้อสรุปหาวิธีทางในการแก้ไขปัญหาใดที่ตรงกับความต้องการของบุคลากรมากที่สุด ความต้องการเหล่านี้คือกุญแจสำคัญที่จำเป็นต่อความสำเร้จทั้งด้านบุคลากรและธุรกิจ
การเลือกแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด ( Select the Beat Solution )
➤ เมื่อประเมินแนวทางการแก้ไขปัญหา คุณสามารถเริ่มกระบวนการคัดเลือกแนวทางแก้ไขปัญหที่เหมาะสมที่สุด โดยสามารถประเมินเปรียบเทียบจากหลักเกณฑ์เดียวกัน
การออกแบบและนำแนวทางในการแก้ไขปัญหาไปใช้จริง
การออกแบบรายละเอียดและแผนการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับกระบวนการส่งเสริมการขายด้วยคอมพิวเตอร์ ควยประกอบด้วย
- ประเภทและแหล่งของคอมพิวเตอร์ ฮาร์แวร์ และซอฟต์แวร์ที่ต้องจัดหาสำหรับพนักงานขาย
- ขั้นตอนในการสนับสนุนระบบการขายใหม่
- การฝึกอบรมพนักงานขายและพนักงานอื่นๆ
- การปรับระบบเดิมเข้าสู่ระบบใหม่ และกำหนดตารางเวลาในการใช้งานจริง
การประเมินหลังการนำไปใช้ ( Postimplementation Review )
➤ ขั้นตอนสุดท้ายของแนวคิดเชิงระบบ คือ การตระหนักว่าแนวทางแก้ปัญหาที่นำไปใช้อาจล้มเหลวได้ ในโลกแห่งความเป็นจริงมีสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้แม้ว่าวิธีการนั้นจะถูกออกแบบเป็นอย่างดีก็ตาม ดังนั้น ผลที่ได้จากการนำวิธีการแก้ปัญหาไปประยุกต์ใช้ควรถูกจับตามองและประมิน เรียกขั้นตอนนี้ว่า กระบวนการทบทวนหลังการนำไปใช้
การวิเคราะห์ระบบ ( Systems Analysis )
มีรายละเอียดดังนี้
- ความต้องการสารสนเทศของหน่วยงานและผู้ใช้เช่นตัวคุณ
- กิจกรรม แหล่งทรัพยากร และผลผลิตของระบบสารสนเทศที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
- ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศนั้นต้องให้ตรงกับความต้องการของคุณและผู้ใช้คนอื่นๆ
การวิเคราะห์องค์กร ( Organizational Analysis )
เป็นก้าวแรกที่สำคํญของการวิเคราะห์ระบบ จะปรับปรุงระบบสารสนเทศได้ หากไม่รู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อมในองค์กรที่ทำการวิเคราะห์ระบบ นี่เป็ยเหตุที่ว่าทำไมทีมพัฒนาจึงต้องเรียนรู้ในเรื่องเกี่ยวกับองค์กร
การวิเคราะห์ระบบที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ( Analysis of the Present Systems )
ระบบเดิมที่จะปรับปรุงหริอถูกแทนที่ (ในกรณีที่มีระบบเดิมอยู่แล้ว) วิเคราะห์การใช้ฮาร์แวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่าย และบุคลากร เพื่อจะทำการถ่ายโอนข้อมูลเดิม (ไปสู่ระบบใหม่)
การออกแบบระบบ ( Systems Design )
แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ระบบทำเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ส่วนการออกแบบ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ไว้วาง
ตัวอย่างของเทคนิคการออกแบบเว็บไซท์สำหับงานด้านธุรกิจ
- ทำให้เรียบง่าย
- ทำให้ดูสะอาดตา
- จัดการตามตรรกะ
การสร้งต้นแบบ ( Prototyping )
เป็นการพัฒนาการที่รวดเร็วและเป็นการทดสอบการทำงานของแบบจำลอง หรือต้นแบบของระบบงานใหม่ ในการรโต้ตอบและกระบวนการทำซ้ำประโยคคำสั่งในโปรแกรมที่เรียกว่า การวนรอบ การทำต้นแบบสามารถทำให้กระบวนการพัฒนาเร็วขึ้นและง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่ต้องการของผู้ใช้นั้นยากแก่การเข้าใจอย่างชัดเจน
กระบวนการสร้างต้นแบบ ( Prototyping Process )
การสร้างต้นแบบสามารถใช้ได้ทั้งกับระบบงานขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ตามปกติแล้วระบบขนาดใหญ่มีความต้องการในการใช้การพัมนาจากระบบเดิม ต้นแบบของงานด้านธุรกิจที่เกิดจากความต้องการจากผู้ใช้นั้นจะช่วยให้การพัฒนาดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และสามารถทำซ้ำหรือปรับแต่งในส่วนของรายละเอียดจนผู้ใช้ให้การยอมรับ
การบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ ( Maintenance of Information Systems )
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวงจรการพัฒนาระบบ เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการสำรวจ ประเมิน และปรับเปลเปลี่ยนระบบ เพื่อให้เป็นตามที่ต้องการหรือที่จำเป็น รวมไปถึงกระบวนการทบทงนผลการนำระบบไปใช้งาน เพื่อเป็นการรับประกันได้ว่าระบบใหม่ที่ได้นำไปใช้นั้นตรงกับความต้องการใช้งานของธุรกิจที่ได้ตั้งไว้ตั้งแต่ตอนออกแบบ การแก้ไขข้อผิดพลาดจากขั้นตอนการพัฒนาระบบ รวมถึงการดัดแปลงระบบเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงภายในบริษัทเอง หือความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากสิ่งแวดล้อม
คำถามกรณีศึกษา
1. การใช้แนวคิดเชิงระบบ ได้ช่วยให้บริษัทแก้ปัญหาทางธุรกิจได้อย่างไร
ตอบ คามิลอทได้เผชิญหน้ากับปัญหาทางธุรกิจ จากการตัดราคาในการขายซีดี-รอมของบริษัท Best Buy และ Circuit City อย่างรุนแรง เขาได้จัดการกับปัญหานี้ด้วยการใช้กลยุทธ์การตั้งราคาขายที่ไม่ตายตัว จะตั้งราคาตามสถานการณ์การแข่งขันแต่ละสาขาและความถี่ในการซื้อของลูกค้าแต่ละราย กลยุทธ์นี้จะเป็นไปได้ยากหากปราศจากซอฟต์แวร์ที่ชื่อ RAMS ซึ่งช่วยในการตั้งราคาสินค้าที่ไม่ตายตัว เพื่อการบริการตลาดเชิงลูกค้าสัมพันธ์ที่ชื่อ Corema และซอฟต์แวร์อื่นๆ คามิลอทคาดว่าจะได้ผลกำไรคุ้มค่ากับการลงทุน
2. คุณเห็นด้วยหรือไม่กับแนวทางที่บริษัทใช้ในการแก้ปัญหา ทำไมจึงเห็นด้วยหรือทำไมจึงไม่เห็นด้วย
ตอบ เห็นด้วย เพราะ ยอดขายของบริษัทลดลง บริษัทจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนราคาที่ดีกว่าคู่แข่งขันเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้
3. อะไรอีกที่คุณอยากแนะนำให้คามิลอททำเพื่อปรับปรุงสถานการณ์ทางธุรกิจของบริษัท แล้วจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยได้อย่างไร
ตอบ ไม่มีคำแนะนำ
4. อะไรคือขั้นตอนแนวคิดเชิงระบบในการพัฒนากระบวนการจัดทำเว็บไซท์ของบริษัท Millipore
ตอบ บริษัทใช้เวลาไม่กี่เดือนในการจัดทำระบบการสั่งซื้อบนเว็บไซท์ โดยเชื่อมระหว่าง Web Server กับฐานข้อมูล Oracle ซึ่งผู้ใช้สามารถตรวจสอบได้ว่า สินค้าที่สั่งซื้อนั้นได้จัดส่งแล้ว หรือกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินงานในการขนส่ง
5. ทำไมการสำรวจลูกค้าบนเว็บแบบออนไลน์ จึงไม่สามารถวัดความต้องการของลูกค้าเท่าที่ควร
ตอบ เราสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าที่เข้ามาใช้ โดยเหมือนกับการมองข้ามไหล่ของใช้และมองดูที่จอภาพ เราไม่สามารถเห็นได้ว่าเขายิ้มหรือรู้สึกอย่างไร เพียงแต่เรารู้แค่ว่าเขากำลังทำอะไรอยู่
6. คุณเห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาของ Millipore เพื่อพัฒนาเว็บไซท์สำหรับลูกค้า ทำไมเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
ตอบ เห็นด้วย การสร้างหน้าเว็บที่มีหมายเลขรหัสสินค้าโดยไม่ต้องให้มีช่องว่าง ( ระหว่างตัวเลขแต่ละชุด ) ก็เป็นการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ใช้ได้
แบบฝึกหัดท้ยบท
1. นักศึกษาสามารถใช้แนวคิดเชิงระบบในการแก้ไขปัญหา เช่นเดียวกับการแก้ปัญหาทางด้านการตลาด ทางด้านการเงิน ทางด้านทรัพยากรมนุษย์หรือไม่ จงอธิบาย
ตอบ ตัวอย่างเช่น เด็ดดีมีเงินออม ของธนาคารออมสิน
ซึ่งนำเสนอความคิดเห็นให้เห็นภาพรวมด้วยเครื่องมือ " SPIDER MODEL "
ประโยชน์ของเครื่องมือ คือ ทำให้เห็นภาพรวมอย่างเป็นระบบ
นำเสนอปัจจัยครบถ้วน
เห็นผลตอบแทนและความเสี่ยงของงานชัดเจน
ที่มา ; ธนาคารออมสิน
2. ทำไมนักศึกษาจึงคิดว่า การจัดทำต้นแบบ ( Prototyping ) จึงกลายมาเป้นที่นิยมในการพัฒนาระบบใหม่ทางธูรกิจที่มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นพื้นฐาน
ตอบ เป็นการพัฒนาการที่รวดเร็วและเป็นการทดสอบการทำงานของแบบจำลอง ต้นแบบของระบบใหม่ ในการดต้ตอบและกระบวนการทำซ้ำประโยคคำสั่งในโปรแกรมที่เรียกว่า การวนรอบ การทำต้นแบบสามารถทำให้เข้าใจง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่ความต้องการของผู้ใช้นั้นยากแก่การเข้าใจอย่างชัดเจน
3. ให้นักศึกษาอธิบาย ปัจจุบันมีการนำเสนอการจัดการต้นแบบแทนที่ หรือมาเสริมการพัฒนาระบบสารสนเทศ
ตอบ เมื่อระบบสารสนเทศใหม่ได้ถูกออกแบบแล้วก็จะนำไปใช้งานจริง แสดงให้เห็นขั้นตอนการนำระบบใหม่ไปใช้ ( System Implementation ) เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การพัมนาซอฟต์แวร์ การทดสอบโปรแกรมและขั้นตอนการทำงาน การพัฒนางานเอกสาร และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง การติดตั้ง รวมถึงการให้ความรู้และฝึกอบรมแก่ผู้ใช้และผู้เชี่ยวชาญที่จะใช้ระบบใหม่นั้นต่อไป
4. จงบอกแนวคิดเชิงระบบ จากกรณีศึกษาต่อไปนี้ เพื่อนำระบบสารสนเทศมาใช้แก้ปัยหาทางธุรกิจที่เกิดขึ้นของธุรกิจขายประกันชีวิตแห่งหนึ่ง ที่มีงบลงทุน 3,000,000 บาท และมีรายได้เฉลี่ยปีละ 300,000 บาท แต่ในปัจจุบันยอดขายลดลง เนื่องจากตัวแทนประกันไม่สามารถให้ข้อมูลการประกันชีวิตได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า เพราะมีเอกสารเกี่ยวข้องกับการประกันชีวิตหลายรุปแบบและวิธีการคำนวณเบี้ยประกันที่ซับซ้อน จึงทำให้เกิดความล่าช้าในการให้ข้อมูล และทำให้สูญเสียลูกค้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งฝ่ายสารสนเทศของบริษัทได้พัมนาทางเลือกไว้ 2 ทางเพื่อการนำเสนอต่อผู้บริหาร คือ
ทางเลือกที่ 1 ให้ตัวแทนประกันใช้คอมพิวเตอร์โน็ตบุคและติดตั้งระบบจัดการข้อมูลการประกันชีวิต ซึ่งตะสามารถช่วยในการคำนวณและให้รายละเอียดที่ลูกค้าต้องการได้ทันที และสามารถส่งข้อมูลการทำประกันเข้าระบบอินเทอร์เน็ตของบริษัทได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้น 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 100,000 บาท ต่อปี และมีความถูกต้องของข้อมูลในระดับ ดีเยี่ยม ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด และมีความสะดวกต่อการใช้งานอยู่ระดับดี มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับดีเยี่ยม
ทางเลือกที่ 2 ให้แฟ้มเอกสารที่บันทึกข้อมูลการประกันชีวิตอย่างละเอียดทั้งหมดกับตัวแนพร้อมทั้งแบบฟอร์มการขอประกันที่สามารถส่งเป็นจดหมายจากที่ทำการไปรษณีย์ถึงบริษัทได้ทันทีที่ลูกค้าตอบรับ และนำแบบฟอร์มการขอเอาประกันดังกล่าวมาบันทึกข้อมูลที่ระบบจัดการข้อมูลการประกันชีวิตที่ติดตั้งบนเครื่องพีซีของบริษัท ทางเลือกนี้ มีค่าใช้จ่ายเริ่มต้น 200,000 บาท มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 300,000 บาทต่อปปี และมีความถูกต้องของข้อมูลและสะดวกต่อการใช้งานในระดับพอใช้ มีความเชื่อถือในระดับดีเยี่ยม
จากข้อมุลดังกล่าวจงประเมินทางเลือกและให้คะแนนตามเกณฑ์ที่เหมาะสมในแต่ละหัวห้อพร้อมทั้งเสนอแนวทางเลือกที่คิดว่าน่าจะใช้แก้ปัญหาได้ดีที่สุด พร้อมเหตุผล
ตอบ
หลักเกณฑ์
|
น้ำหนัก
|
ทางเลือกที่
1.ใช้คอมพิวเตอร์
|
คะแนน
|
ทางเลือกที่
2 ใช้แบบฟอร์เอกสาร
|
คะแนน
|
1ค่าใช้จ่ายในการ เริ่มต้น
|
20
|
1,000,000 บ.
|
15
|
200,000 บ.
|
15
|
2
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
|
20
|
100,000 บ./ปี
|
18
|
300,000 บ./ปี
|
10
|
3 ความง่ายใน
การใช้งาน
|
20
|
18
|
12
|
||
4 ความถูกต้อง
|
20
|
20
|
5
|
||
5 ความน่าเชื่อถือ
|
20
|
20
|
20
|
||
6 คะแนนรวม
|
100
|
91
|
62
|
||
สรุปข้อได้เปรียบ
|
ค่าใช้จ่ายในการ
ดำเนินงานต่ำ ใช้งานง่าย มี ความถูกต้องและน่าเชื่อถือ
|
ค่าใช้จ่ายเริ่มต้น
ต่ำ
|
|||
ผลประโยชน์สรุปปข้อได้ปรียบ และค่าใช้จ่าย
|
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่ำ
มีความถูกต้อง ระดับดีเยี่ยม
|
ค่าใช้จ่ายในการ
ดำเนินงานสูง ความสะดวกตอนใช้งานพอใช้
|
แนวทางในการแก้ไขปัญหา จากเกณฑ์ความถูก ทางเลือกที่ 2 ได้คะแนนต่ำกว่า 10 คะแนน และได้คะแนนรวมต่ำกว่าจึงถูกตัดทิ้ง ทางเลือกที่ 1 จึงได้รับการเลือก
5. มีวอฟแวร์ประยุกต์อะไรบ้าง ที่ผู้ใช้สามารถนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต และอินทราเน็ต เว็บไซท์
ตอบ กลุ่มการใช้งานด้านธุรกิจ ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้จะเน้นในการใช้งานทางด้านธุรกิจ โดยเฉพาะมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกว่าใช้แรงงานคน เช่นสำหรับการจัดพิมพ์เอกสาร นำเสนองาน รวมถึงการบันทึกนัดหมายต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทซอฟต์แวร์ในกลุ่มนี้เป้นจำนวนมาก
- ซอฟต์แวร์สำหรับจัดทำโครงการ
- ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี
- ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ
6. การนำเอาซอฟต์แวร์ Case Tools มาช่วยสนับสนุนขั้นตอนของวงจรการพัฒนานั้น แต่ก็ไม่มากนักที่ประสบความสำเร็จในท้องตลาดทั่วไป และในลักษณะเช่นเดียวกันก็มีการนำเอา CASE Tools ไปช่วยนักพัฒนาในส่วนของการจัดทำต้นแบบ และกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ในระดับบุคคล นักศึกษาคิดว่าเป็นเพราะเหตุใดที่มีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้น
ตอบ อุปสรรคที่ทำให้เกิดความสำเร็จน้อยคือ อาจไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
คำถาม
1. การออกแบบรายละเอียดและแผนการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับระบบการส่งเสริมการขายด้วยคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยกี่ขั้นตอน
ก. 1 ขั้นตอน
ข. 2 ขั้นตอน
ค. 3 ขั้นตอน
ง. 4 ขั้นตอน ✓
2. ข้อได้เปรียบของระบบ POS มีกี่ข้อ
ก. 2 ข้อ
ข. 3 ข้อ ✓
ค. 4 ข้อ
ง. 5 ข้อ
3. การแก้ไขปัญหาการพัฒนาระบบสารสนเทศ เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่มีหลายขั้นตอน เรียกว่าอะไร
ก. การพัฒนาระบบสารสนเทศ หรือ วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบ ✓
ข. การวิเคราะห์ระบบ
ค. การออกแบบระบบ
ง. การแก้ไขระบบสารสนเทศ
4. เป้าหมายของการศึกษาความเป็นไปได้ขององค์กร คืออะไร
ก. ระบบสารสนเทศที่ศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเศรษรฐกิจ ✓
ข. ระบบสารสนเทศที่ศึกษาเกี่ยวกับความอยู่รอม ความมั่นคงขององค์กร
ค. ระบบสารสนเทศที่ษึกษาเกี่ยวกับระบบต่างๆในองค์กร
ง. ระบบสารสนเทศที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงาน การพัฒนาความเป็นไปได้ขององค์กร
5. การวิเคระห์ระบบในการศึกาารายละเอียดมีกี่ขั้นตอน
ก. 3 ขั้นตอน ✓
ข. 4 ขั้นตอน
ค. 5 ขั้นตอน
ง. 6 ขั้นตอน
6. การวิเคราะห์ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน คืออะไร
ก. การจัดการงานที่ใช้โปรแกรมในการทำงาน
ข. การจัดทำเอกสารที่ได้รับความนิยม
ค. ระบบเดิมที่ปรับเปลี่ยนหรือถูกแทนที่ ( ในระบบเดิมอยู่แล้ว ) วิเคราะห์การใช้ฮาร์แวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่าย และบุคลากร เพื่อจะทำการถ่ายข้อมูลเดิม ( ไปสู่ระบบใหม่ ) ✓
ง. ระบบปัจจุบัน
7. ตัวอย่างของเทคนิคการออกแบบเว็บไซท์สำหรับงานด้านธุรกิจ มีอะไรบ้าง
ก. ทำให้เรียบง่าย ทำให้ดูสะอาดตา จัดการตามตรรกะ ✓
ข. ออกแบบเอง ทำให้ดูสะอาดตา สวยงาม
ค. สวยงาม สะอาดตา เรียบง่าย
ง. เรียบง่าย สะอาดตา มีความคิดสร้างสรรค์
8. การออกแบบให้รายละเอียดในเรื่องอะไรบ้าง
ก. ลักษณะ ประจำ กฏบูรณภาพ
ข. ลักษณะเฉพาะ กำหนดส่วนประกอบของข้อมูลย่อย ความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละคน
ค. ลักษณะประจำ หรือลักษณะเฉพาะของเอนทิตี ความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละ เอนทิตี ที่มีต่อกัน
กำหนดส่วนประกอบของข้อมูลย่อย กฏบูรณภาพ ✓
ง. ถูกทุกข้ัอ
9. การบำรุงรักษาทำไปเพื่ออะไร
ก. เพื่อเป็นการรับประกันได้ว่าระบบใหม่ที่ได้นำไปใช้นั้นตรงกับความต้องการใช้งานของธุรกิจที่ได้ตั้งแต่ตอนออกแบบ การแก้ไขข้อผิดพลาดจากขั้นตอนการพัฒนาระบบ ✓
ข. เพื่อความทันสมัยของระบบ
ค. เพื่อให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น
ง. เพื่อให้ระบบได้รับความนิยม และใช้งานง่ายขึ้น
10. การวัดการควบคุมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ใช้ระบบงาน ขึ้นอยู่กับอะไร
ก.ขอบเขตของงาน
ข. ธรรมชาติของผู้ใช้ระบบ
ค. ขอบเขตและช่วงเวลาของระบบจำนวน ธรรมชาติของผุ้ใช้ระบบงาน และธรรมชาติของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ✓
ง. ถูกทุกข้อ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น