บทที่ 4 ภาพรวมของการจัดการ : การจัการฐานข้อมูล
สรุปบทที่ 4
การจัดการฐานข้อมูล : การจัดการทรัพยากรข้อมูล
ข้อมูล (DATA) เป็นทรัพยากรสำคัญที่จำเป็นในการจัดการเหมือนกับทรัพย์สินอื่นๆของธุรกิจ องค์กรส่วนใหญ่จะไม่สามารถอยู่รอดหรือประสบความสำเร้จได้หากปราศจากข้อมูลที่มีคุณภาพ เพื่อการดำเนินกิจการภายในและที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมภายนอก
องค์กรอยู่ใต้ภาวะความกดดันอย่างมากในการเตรียมสารสนเทสที่มีคุณภาพสำหรับช่วยในการตัดสินใจให้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าถึงและนำมาใช้งาน ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องมีสารสนเทศที่ดีเพื่อการปฎิบัติงานในหน้าที่อันวิกฤตของพวกเขาอันเนื่องมาจากการเแลี่ยนเปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การแข่งขันด้านการตลาดที่เพิ่มขึ้น และวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ที่
แนวคิดเชิงการจัดการฐานข้อมูล
การพัฒนาฐานข้อมูลและซอฟแวร์จัดการฐานข้อมูล สามารถเข้าถึงได้โดยโปรแกรมประยุกต์ ดังนั้น แนวคิดเชิงการจัดการฐานข้อมูล เกี่ยวข้องกับ 3 กิจกรรมเบื้องต้นคือ
💦การปรับปรุงและบำรุงรักษาฐานข้อมูล
💦การเตรียมสาระสนเทศที่จำเป็นสำหรับการใช้งาน
💦การเตรียมความสามารถในการโต้ตอบ ค้นหา และจัดทำรายงาน
👉การใช้ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
1. การพัฒนาฐานข้อมูล (Database Development)
โปรแกรมสำเร็จรูปจัดการฐานข้อมูล อนุญาตให้ผู้ใช้พัฒนาฐานข้อมูลตามที่ต้องการได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม การควบคุมการพัฒนาฐานข้อมูลขององค์กรให้อยู่ในมือของผู้บริหารระบบหรือผู้เชี่ยวชาญฐานข้อมูล ปรับเลี่ยนคุณลักษณะเฉพาะของฐานข้อมูลเมื่อจำเป็น สาระสนเทศถูกจัดทำสารบัญแฟ้มและเก็บลงในฐานข้อมูลและคุณลักษณะเฉพาะ เรียก พจนานุกรมข้อมูล
2. การสืบค้นฐานข้อมูล (Data Interrogation)
ผู้ใช้สามารถใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลสำหรับการขอสารสนเทศจากฐานข้อมูล โดยใช้ภาษาสอบถามหรือตัวสร้างรายงาน ซึ่งทำให้สามารถรับคำตอบทันทีในรูปแบบของการแสดงทางจอภาพหรือรายงาน
3. การบำรุงรักษาฐานข้อมูล (Database Maintenance)
ฐานข้อมูลขององค์กรต้องการการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผลมาจากรายการเปลี่ยนแปลงใหม่หรือเหตุการณ์อื่นๆ
4. การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Development)
โปรแกรมสำเร็จรูประบบจัดการฐานข้อมูลมีบทบาทหลักในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สามารถใช้ภาษาโปรแกรมยุกต์ที่สี่และสร้างเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์จากโปรแกรมสำเร็จรูประบบจัดการฐานข้อมูล
👉 ประเภทของฐานข้อมูล (Types of Databases)
💦ฐานข้อมูลเชิงปฏิบัติการ เก็บรายระเอียดของข้อมูลที่ต้องการเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจการของทั้งองค์กร เรียก ฐานข้อมูลซับเจ๊กแอเรีย
💦ฐานข้อมูลเชิงวิเคราะห์ เก็บข้อมูลและสารสนเทศที่ดึงมาจากฐานข้อมูลเชิงปฏิบัติการและฐานข้อมูลภายนอก ประกอบด้วยข้อมูลสรุปและสารสนเทศที่จำเป็นต่อผู้จัดการองค์กรและผู้ใช้
💦คลังข้อมูล เก็บข้อมูลปัจจุบันและปีก่อนๆ โดยดึงข้อมูลเชิงปฏิบัติการต่างๆ ขององค์กร เป็นแหล่งข้อมูลส่วนกลางที่ได้ถูกคัดเลือก แกไข จัดมาตรฐานและรวบรวมเพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ธุรกิจ การวิจัยตลาด และสนับสนุนการตัดสินใจ
💦ฐานข้อมูลแบบกระจาย หลายองค์กรทำซ้ำและกระจายสำเนาหรือบางส่วนของฐานข้อมูลไปยังแม่ข่ายเครือข่ายหลายๆ สถานที่ ฐานข้อมูล สามารถติดตั้งอยู่บนเครื่องแม่ข่ายเครือข่าย www
💦ฐานข้อมูลผู้ใช้ ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลต่างๆ ที่พัฒนาโดยผู้ใช้ที่สถานีปลายทาง
💦ฐานข้อมูลภายนอก การเข้าสารสนเทศที่มีค่าของฐานข้อมูลภายนอกจากพาณิชย์บริการต่อรอง โดยจ่ายค่าธรรมเนียมหรือจากแหล่งต่างๆ บทอินทราเน็ต บน www
👉 การพิจารณาเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรข้อมูล
1. การบริหารระบบฐานข้อมูล เป็นสิ่งที่สำคัญในการจัดการทรัพยากรข้อมูลในการใช้เทคโนโลยีจัดการฐานข้อมูลที่เหมาะสม
2. การวางแผนข้อมูล เป็นการวางแผนขององค์กรและการวิเคราะห์หน้าที่ที่เน้นในเรื่องการจัดการทรัพยากรข้อมูล
3. การบริหารข้อมูล เป็นหน้าที่สำคัญของการจัดการทรัพยากรข้อมูลอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดตั้งและบังคับใช้นโยบายและกระบวนคำสั่งสำหรับการจัดการข้อมูล
👉 ประโยชน์และข้อจำกัดของการจัดการฐานข้อมูล
เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ที่สำคัญๆ เช่น การลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล การรวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อการเข้าถึงจากหลายโปรแกรมและหลายผู้ใช้ โปรแกรมอิสระจากรูปแบบข้อมูลและประเภทของฮาร์ดแวร์สำหรับจัดเก็บ ผู้ใช้ได้รับรายงานและการสอบถาม การโต้ตอบ เพื่อได้สารสนเทศที่ต้องการโดยง่าย
ข้อจำกัดของการจัดการฐานข้อมูลเพิ่มขึ้นเนื่องจากความซับซ้อนของเทคโนโลยีที่มากขึ้น ดังนั้น ทำให้เกินปัญหาจัดการทรัพยากรข้อมูล การพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีประเภทข้อมูลที่ซับซ้อนและการติดตั้ง DBMS ที่ยุ่งยากและค่าใช้จ่ายสูง
👉 โครงสร้างฐานข้อมูล (Database Structures)
1. โครงสร้างเชิงลำดับขั้น ความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม เพราะแต่ละส่วนย่อยข้อมูลมีความสัมพันธ์กับส่วนย่อยเหนือขึ้นไปเท่านั้น ข้อมูลส่วนย่อยหรือระเบียนที่ระดับสูงที่สุดเรียกว่า ราก
2. โครงสร้างแบบเครือข่าย สามารถแสดงด้วยความสัมพันธ์เชิงตรรกะที่มีความซับซ้อนมากขึ้นและยังคงใช้โปรแกรมสำเร็จรูป DBMS บนเมนเฟรม ซึ่งอนุญาตความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
3. โครงสร้างเชิงสัมพันธ์ นิยมมากที่สุดมีการนำมาใช้กับโปรแกรมสำเร็จรูป DBMSไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และระบบเมนเฟรมในแบบจำลองเชิงสัมพันธ์นั้นส่วนย่อยข้อมูลทั้งหมดภายในฐานข้อมูลถูกจัดเก็บ ในรูปแบบตารางที่เรียบง่าย
4. โครงสร้างเชิงหลายมิติ มีความแตกต่างจากแบบจำลองเชิงสัมพันธ์คือใช้โครงสร้างเชิงหลายมิติเพื่อจัดระเบียบข้อมูลและแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
5. โครงสร้างเชิงวัตถุ แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงวัตถุ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญของยุคใหม่ของโปรแกรมประยุกต์สื่อประสมเชิงเว็บ
👉 เทคโนโลยีเชิงวัตถุและเว็บ (Object Technology and the Web)
💨การเข้าถึงฐานข้อมูล
- เขตข้อมูลหลัก การที่ระเบียนข้อมูลบรรจุเขตข้อมูลที่เป็นตัวระบุความแตกต่างหนึ่งหรือมากกว่าเป็นกุญแจเพื่อช่วยระบุตำแหน่งของระเบียน
- การเข้าถึงโดยลำดับ ใช้การจัดระเบียบแบบตามลำดับ ซึ่งระเบียนแบบตามลำดับ ซึ่งระเยนนั้นจัดเก็บทางกายภาพตามลำดับที่กำหนดของเขตข้อมูลหลักแต่ละระเบียน
- การเข้าถึงโดยตรง ระเบียนจะไม่ต้องมีการจัดเรียงตามลำดับในสื่อหน่วยเก็บ โดยคอมพิวเตอร์ยังคงจัดเก็บแนวตำแหน่งบนหน่วยจัดเก็บของแต่ละระเบียนโดยวิธีโดยตรง
การพัฒนาฐานข้อมูล ขนาดเล็กกระทำได้โดยใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลสำเร็จรูปไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับการพัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีประเภทข้อมูลที่ซับซ้อนอาจเป็นงานที่ซับซ้อนได้
ฐานข้อมูล แบ่งความสัมพันธ์ออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
💦ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
💦ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม
💦ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
นอกจากนี้ฐานข้อมูลได้มีการจำลองข้อมูลเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ๆ มีการจำลองออกเป็น 3 แบบด้วยกัน ได้แก่ การจำลองแบบลำดับชั้น การจำลองแบบเครือข่าย และการจำลองแบบเชิงสัมพันธ์
👉ประโยชน์ของการจัดทำระบบฐานข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลต่างๆ เข้าเป็นระบบฐานข้อมูล โดยมีการออกแบบ การวิเคราะห์และสร้างความสัมพันธ์ของข้อมูล ซึ่งมี
ประโยชน์ต่อการใช้งานในสำนักงานทั่วไปอย่างมาก ดังนี้
1. ช่วยลดปัญหาของความซ้ำซ้อนของข้อมูลที่จัดเก็บ เนื่องจากในขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล เมื่อพบข้อมูลบางส่วน
ที่ซ้ำซ้อนกันก็จะสามารถลดและปรับข้อมูลให้น้อยลง ขณะที่ยังคงความสามารถในการเรียกดูข้อมูลได้ดังเดิมโดย ใช้การ
กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
2. สามารถใช้ร่วมกันได้หลายคนและหลายหน่วยงานได้ ไม่จำกัดเฉพาะโปรแกรมในปัจจุบันเท่านั้นแต่สามารถใช้กับโปรแกรม
ที่จะพัฒนาในอนาคตด้วย
3. สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกันของข้อมูลได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากความซ้ำซ้อนของข้อมูล ดังเหตุผลในข้อแรกเมื่อลด
ความซ้ำซ้อนของข้อมูลแล้ว ระบบฐานข้อมูลก็จะมีข้อมูลเรื่องใดๆ อยู่น้อยชุดที่สุด ซึ่งสะดวกในการแก้ไขปรับปรุงต่างจาก
ในกรณีที่มีข้อมูลอย่างเดียวกันหลายชุด ถ้ามีการแก้ไขแล้วไม่ได้แก้ไขข้อมูลครบทุกชุด เมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลจะพบข้อมูล
เรื่องเดียวกัน แต่มีเนื้อหาต่างกัน
4. สามารถควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ทั้งในเรื่องความถูกต้องของข้อมูลในแฟ้มข้อมูล (Relational Integrity) และความถูก
ต้องของความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (Referential Integrity) สามารถควบคุมมาตรฐานของข้อมูลได้ทั้งในลักษณะรูปแบบ
ของข้อมูล (Format) การกำหนดรหัส (Coding) ในข้อมูลเรื่องเดียวกันให้เหมือนกัน
5. การจัดทำระบบฐานข้อมูล จะเป็นการวางแผนระบบข้อมูลขององค์กร หรือหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความสูญเสียและ
ความขัดแย้งของข้อมูลที่อาจจะมีขึ้น ถ้าแต่ละแผนกแยกกันพัฒนาระบบข้อมูลของตนเอง
6. สามารถควบคุมและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้ เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ถูกนำเข้ามาจัดเก็บในระบบฐานข้อมูล ซึ่งอยู่ที่
ส่วนกลาง มีผู้ดูแลข้อมูลอย่างชัดเจน ผู้บริหารระบบฐานข้อมูล (Database Administration) ก็จะสามารถควบคุมการ
เข้าใช้ การแก้ไขข้อมูลของผู้เข้าใช้ทุกคน
7. ทำให้มีความเป็นอิสระในการจัดการฐานข้อมูล ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บหรือการเรียกใช้ข้อมูล การประยุกต์
ใช้ทำได้ง่าย
👉องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
เนื่องจากขอบเขตการจัดการฐานข้อมูลนั้นกว้างมาก ดังนั้นเราจึงน่าจะรู้จักกับองค์ประกอบต่าง ๆ ของฐานข้อมูล
1. User คือ ผู้ใช้งานฐานข้อมูลโดยคนเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลก็ได้ แต่รู้ว่าต้องการข้อมูล
อะไรบ้างในการทำงาน
2. Data คือ ข้อมูลในฐานข้อมูล เป็นส่วนที่ถูกนำมาใช้งาน ถูกเก็บอยู่ภายในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยใน
มุมมองของผู้ใช้งานนั้นข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในตารางต่าง ๆ ของฐานข้อมูล
3. DBMS (Database Management System) คือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่คอยจัดการดูแลฐานข้อมูลให้สามารถ
ใช้งานได้ง่าย มีประสิทธิภาพ และรักษาข้อมูลที่เก็บอยู่ภายในให้เชื่อถือได้เสมอ
4. Database Server คือระบบคอมพิวเตอร์ที่เก็บข้อมูลในฐานข้อมูล ซึ่งมักจะติดตั้ง DBMS ไว้ภายในคอย
ทำหน้าที่ จัดการฐานข้อมูลโดยปกติมักจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ การทำงานในระดับสูงมาก
เพราะต้องคอยรับการใช้งานพร้อม ๆ กันจาก User
5. DBA (Database Administrator) คือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูแลรักษาฐานข้อมูล โดยจะใช้ DBMS เป็นเครื่องมือ
และคอยจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับฐานข้อมูล
ฐานข้อมูล แบ่งความสัมพันธ์ออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
💦ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
💦ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม
💦ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
นอกจากนี้ฐานข้อมูลได้มีการจำลองข้อมูลเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ๆ มีการจำลองออกเป็น 3 แบบด้วยกัน ได้แก่ การจำลองแบบลำดับชั้น การจำลองแบบเครือข่าย และการจำลองแบบเชิงสัมพันธ์
👉ประโยชน์ของการจัดทำระบบฐานข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลต่างๆ เข้าเป็นระบบฐานข้อมูล โดยมีการออกแบบ การวิเคราะห์และสร้างความสัมพันธ์ของข้อมูล ซึ่งมี
ประโยชน์ต่อการใช้งานในสำนักงานทั่วไปอย่างมาก ดังนี้
1. ช่วยลดปัญหาของความซ้ำซ้อนของข้อมูลที่จัดเก็บ เนื่องจากในขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล เมื่อพบข้อมูลบางส่วน
ที่ซ้ำซ้อนกันก็จะสามารถลดและปรับข้อมูลให้น้อยลง ขณะที่ยังคงความสามารถในการเรียกดูข้อมูลได้ดังเดิมโดย ใช้การ
กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
2. สามารถใช้ร่วมกันได้หลายคนและหลายหน่วยงานได้ ไม่จำกัดเฉพาะโปรแกรมในปัจจุบันเท่านั้นแต่สามารถใช้กับโปรแกรม
ที่จะพัฒนาในอนาคตด้วย
3. สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกันของข้อมูลได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากความซ้ำซ้อนของข้อมูล ดังเหตุผลในข้อแรกเมื่อลด
ความซ้ำซ้อนของข้อมูลแล้ว ระบบฐานข้อมูลก็จะมีข้อมูลเรื่องใดๆ อยู่น้อยชุดที่สุด ซึ่งสะดวกในการแก้ไขปรับปรุงต่างจาก
ในกรณีที่มีข้อมูลอย่างเดียวกันหลายชุด ถ้ามีการแก้ไขแล้วไม่ได้แก้ไขข้อมูลครบทุกชุด เมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลจะพบข้อมูล
เรื่องเดียวกัน แต่มีเนื้อหาต่างกัน
4. สามารถควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ทั้งในเรื่องความถูกต้องของข้อมูลในแฟ้มข้อมูล (Relational Integrity) และความถูก
ต้องของความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (Referential Integrity) สามารถควบคุมมาตรฐานของข้อมูลได้ทั้งในลักษณะรูปแบบ
ของข้อมูล (Format) การกำหนดรหัส (Coding) ในข้อมูลเรื่องเดียวกันให้เหมือนกัน
5. การจัดทำระบบฐานข้อมูล จะเป็นการวางแผนระบบข้อมูลขององค์กร หรือหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความสูญเสียและ
ความขัดแย้งของข้อมูลที่อาจจะมีขึ้น ถ้าแต่ละแผนกแยกกันพัฒนาระบบข้อมูลของตนเอง
6. สามารถควบคุมและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้ เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ถูกนำเข้ามาจัดเก็บในระบบฐานข้อมูล ซึ่งอยู่ที่
ส่วนกลาง มีผู้ดูแลข้อมูลอย่างชัดเจน ผู้บริหารระบบฐานข้อมูล (Database Administration) ก็จะสามารถควบคุมการ
เข้าใช้ การแก้ไขข้อมูลของผู้เข้าใช้ทุกคน
7. ทำให้มีความเป็นอิสระในการจัดการฐานข้อมูล ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บหรือการเรียกใช้ข้อมูล การประยุกต์
ใช้ทำได้ง่าย
👉องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
เนื่องจากขอบเขตการจัดการฐานข้อมูลนั้นกว้างมาก ดังนั้นเราจึงน่าจะรู้จักกับองค์ประกอบต่าง ๆ ของฐานข้อมูล
1. User คือ ผู้ใช้งานฐานข้อมูลโดยคนเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลก็ได้ แต่รู้ว่าต้องการข้อมูล
อะไรบ้างในการทำงาน
2. Data คือ ข้อมูลในฐานข้อมูล เป็นส่วนที่ถูกนำมาใช้งาน ถูกเก็บอยู่ภายในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยใน
มุมมองของผู้ใช้งานนั้นข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในตารางต่าง ๆ ของฐานข้อมูล
3. DBMS (Database Management System) คือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่คอยจัดการดูแลฐานข้อมูลให้สามารถ
ใช้งานได้ง่าย มีประสิทธิภาพ และรักษาข้อมูลที่เก็บอยู่ภายในให้เชื่อถือได้เสมอ
4. Database Server คือระบบคอมพิวเตอร์ที่เก็บข้อมูลในฐานข้อมูล ซึ่งมักจะติดตั้ง DBMS ไว้ภายในคอย
ทำหน้าที่ จัดการฐานข้อมูลโดยปกติมักจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ การทำงานในระดับสูงมาก
เพราะต้องคอยรับการใช้งานพร้อม ๆ กันจาก User
5. DBA (Database Administrator) คือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูแลรักษาฐานข้อมูล โดยจะใช้ DBMS เป็นเครื่องมือ
และคอยจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับฐานข้อมูล
***********************
💬แบบฝึกหัดท้ายที่ 4
1.) ทำอย่างไร ที่องค์กรธุรกิจสามารถที่จะใช้เครือข่ายระหว่างองค์กร ในการจัดเก็บ เข้าถึงและแจกจ่ายข้อมูล สารสนเทศ ไปยังหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก
ตอบ ประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ ในการบำรุงรักษาฐานข้อมูล ระเบียนหรือออบเจ็กต์ที่มีการเพิ่ม ลบ และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจากรายการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ข้อมูลต้องเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วเพื่อให้สารสนเทศถูกผลิตเพื่อตอบโต้กับคำร้องขอของผู้ใช้
2.) อะไรคือบทบาทของการจัดการฐานข้อมูล การบริหารฐานข้อมูล และการวางแผนที่จะใช้ข้อมูลมาเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจ
ตอบ - การจัดการฐานข้อมูลเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่จำเป็นในการจัดการเหมือนกับทรัพย์สินอื่นๆ ของธุรกิจ องค์กรต้องมีข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
- การบริหารฐานข้อมูล เป็นหน้าที่สำคัญของการจัดการทรัพยากรข้อมูลอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดตั้งและบังคับใช้นโยบายและกระบวนคำสั่งสำหรับการจัดการข้อมูล
- การวางแผนข้อมูล เป็นการวางแผนขององค์กรและการวิเคราะห์หน้าที่ที่เน้นในเรื่องการจัดการทรัพยากรข้อมูล
3.) อะไรคือประโยชน์ของแนวคิดในการรวบรวมฐานข้อมูล การเข้าถึง และการจัดการทรัพยากรฐานข้อมูล จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ คือ เป็นส่วนติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ง่ายมีประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูล ในการบำรุงรักษาฐานข้อมูลและการจัดการทรัพยากรข้อมูลที่เป็นระบบ
4.) อะไรคือบทบาทของระบบสารสนเทศในการจัดการระบบฐานข้อมูล
ตอบ รวบรวมระเบียนระเบียนและออบเจ็กต์ ให้เป็นฐานข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้โดยโปรแกรมประยุกต์ เรียก ระบบจัดการฐานข้อมูล ทำหน้าที่เป็นส่วนติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล ที่ช่วยผู้ใช้ให้เข้าถึงระเบียนในฐานข้อมูลได้อย่างง่ายดาย
5.) ฐานข้อมูลสารสนเทศนั้น เป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติการภายในองค์กร ให้พิจารณาว่า ยังมีฐานข้อมูลประเภทใดอีกที่มีความสำคัญในธุรกิจปัจจุบัน
ตอบ โปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้
- โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นโปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่ช่วยจัดการข้อมูลหรือรายการต่าง ๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ การเรียกใช้ การปรับปรุงข้อมูล
-โปรแกรมฐานข้อมูล จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโปรแกรมฐานข้อมมูลที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกันหลายตัว เช่น Access, FoxPro, Clipper, dBase, FoxBase, Oracle, SQL เป็นต้น โดยแต่ละโปรแกรมจะมีความสามารถต่างกัน บางโปรแกรมใช้ง่ายแต่จะจำกัดขอบเขตการใช้งาน บ่งโปรแกรมใช้งานยากกว่า แต่จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่า
-โปรแกรม Access นับเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้ โดยเฉพาะในระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถสร้างแบบฟอร์มที่ต้องการจะเรียกดูข้อมูลในฐานข้อมูล หลังจากบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะสามารถค้นหาหรือเรียกดูข้อมูลจากเขตข้อมูลใดก็ได้ นอกจากนี้ Access ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้ด้วย
-โปรแกรม FoxPro เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด เนื่องจากใช้ง่ายทั้งวิธีการเรียกจากเมนูของ FoxPro และประยุกต์โปรแกรมขึ้นใช้งาน โปรแกรมที่เขียนด้วย FoxPro จะสามารถใช้กลับ dBase คำสั่งและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ใน dBase จะสามารถใช้งานบน FoxPro ได้ นอกจากนี้ใน FoxPro ยังมีเครื่องมือช่วยในการเขียนโปรแกรม เช่น การสร้างรายงาน
-โปรแกรม dBase เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลชนิดหนึ่ง การใช้งานจะคล้ายกับโปรแกรม FoxPro ข้อมูลรายงานที่อยู่ในไฟล์บน dBase จะสามารถส่งไปประมวลผลในโปรแกรม Word Processor ได้ และแม้แต่ Excel ก็สามารถอ่านไฟล์ .DBF ที่สร้างขึ้นโดยโปรแกรม dBase ได้ด้วย
-โปรแกรม SQL เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างของภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพการทำงานสูง สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้โดยใช้คำสั่งเพียงไม่กี่คำสั่ง โปรแกรม SQL จึงเหมาะที่จะใช้กับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และเป็นภาษาหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้กันมาก โดยทั่วไปโปรแกรมฐานข้อมูลของบริษัทต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น Oracle, DB2 ก็มักจะมีคำสั่ง SQL ที่ต่างจากมาตรฐานไปบ้างเพื่อให้เป็นจุดเด่นของแต่ละโปรแกรมไป
6.) อะไรคือข้อดีหรือประโยชน์ และอะไรคือข้อจำกัดของตัวแบบความสัมพันธ์ของฐานข้อมูลที่ประยุกต์ใช้ในทางธุรกิจปัจจุบัน
ตอบ ประโยชน์และข้อจำกัดของการจัดการฐานข้อมูล
เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ที่สำคัญๆ เช่น การลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล การรวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อการเข้าถึงจากหลายโปรแกรมและหลายผู้ใช้ โปรแกรมอิสระจากรูปแบบข้อมูลและประเภทของฮาร์ดแวร์สำหรับจัดเก็บ ผู้ใช้ได้รับรายงานและการสอบถาม การโต้ตอบ เพื่อได้สารสนเทศที่ต้องการโดยง่าย
ข้อจำกัดของการจัดการฐานข้อมูลเพิ่มขึ้นเนื่องจากความซับซ้อนของเทคโนโลยีที่มากขึ้น ดังนั้น ทำให้เกินปัญหาจัดการทรัพยากรข้อมูล การพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีประเภทข้อมูลที่ซับซ้อนและการติดตั้ง DBMS ที่ยุ่งยากและค่าใช้จ่ายสูง
7.) จงอธิบายถึงฐานข้อมูล คลังข้อมูลและตลาดข้อมูลในความเข้าใจของนักศึกษา
ตอบ - ฐานข้อมูล เป็นการรวบรวมระเบียนที่เก็บในรูปแบบแฟ้ม เป็นอิสระจากอุปกรณ์ที่จัดเก็บ
- คลังข้อมูล เก็บข้อมูลปัจจุบันและปีก่อนๆ โดยดึงข้อมูลเชิงปฏิบัติการต่างๆ ขององค์กร เป็นแหล่งข้อมูลส่วนกลางที่ได้ถูกคัดเลือก แกไข จัดมาตรฐานและรวบรวมเพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ธุรกิจ การวิจัยตลาด และสนับสนุนการตัดสินใจ
- ตลาดข้อมูล เป็นที่ที่มีแหล่งข้อมูลที่มีมาก เพื่อให้ผู้บริหารได้ทำการเลือกใช้ตามความต้องการ
8.) ทำไมตัวแบบฐานข้อมูลเชิงวัตถุ จึงได้รับกายอมรับในการนำเอามาพัฒนาและจัดการฐานข้อมูลทางธุรกิจบนเว็บ
ตอบ โครงสร้างเชิงวัตถุ แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงวัตถุ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญของยุคใหม่ของโปรแกรมประยุกต์สื่อประสมเชิงเว็บ
9.) ทำอย่างไรที่จะนำเอาอินเทอร์เน็ต และ World Wide Wed มาใช้ในการจัดการทรัพยากรข้อมูลเพื่อประกอบการทำธุรกิจได้
ตอบ เป็นซอฟแวร์ที่สำคัญในการจัดการหน้าสื่อประสมเชื่อมโยงหลายมิติและข้อมูลประเภทอื่น ที่สนับสนุนเว็บไซท์ขององค์กรเป็นเพราะ OODBMS สามารถจัดการเรื่องการเข้าถึงและจัดเก็บออบเจ็กต์ เช่น เอกสาร ภาพกราฟิก วีดีทัศน์ อื่นๆ ได้โดยง่าย
***********************
1.) Sear ใช้ข้อมูลภายนอกในคลังข้อมูลเพื่อปรับปรุงธุรกิจได้อย่างไร
ตอบ สำหรับคลังข้อมูลของหลายๆ บริษัทแล้วยากที่จะกล่าวกับผู้ใช้ว่าอะไรที่อยู่ภายในขอบเขตของเขา เช่น รายการเปลี่ยนแปลงภายใน (Internal Transactions) ประวัติการขาย (Sale Histories) หรือระเบียนลูกค้า (Customer Records) จำนวนมหาศาล ผู้จัดการหลายๆบริษัทกล่าวว่าบริษัทของเขาเชื่อมั่นอย่างมากในสารสนเทศภายนอก เช่น ประชากรศาสตร์ (Demographics) และการพยากรณ์ทางเศรษฐกิจ (Economic Forecasts) ข้อมูลเปรียบเทียบด้านการตลาดได้ช่วย Sears ในเรื่องการเปรียบเทียบผลการดำเนินธุรกิจของร้านกับคู่แข่งขัน MCI และ First American ใช้ข้อมูลในกคลังเรื่องฟฤติกรรมการซื้อของลูกค้าของตนและลูกค้าของธุรกิจอื่น
2.) มูลค่าทางธุรกิจ (Business Value) อะไรที่ MCI ได้รับจากคลังข้อมูลภายนอก
ตอบ นักวิเคราะห์การตลาดตรวจสอบรายชื่อภายนอก เพื่อให้แน่ใจว่ายังเป็นปัจจุบันและสารสนเทศที่
MCI ต้องการ รวมทั่งชื่อลูกค้ารายใหม่ด้วย "เราจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อให้ได้ข้อมูลและเราต้องแน่ใจว่าได้ของดีคุ้มกับเงินที่จ่ายไป"
3.) ท่านคิดอย่างไรที่ Mary Ann Beach หมายถึงเมื่อเธอกล่าวถึงข้อมูลภายนอกว่าเป็น “ ความลับวิธีการที่ทำเงินให้เรา” ในการรณรงค์ทางด้านการตลาด
ตอบ เห็นด้วย เพราะข้อมูลภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดข้อมูลใหม่ๆเกิดขึ้น
💬คำถามกรณีศึกษา
1.) ผลประโยชน์ทางธุรกิจอะไรที่บริษัทคาดหวังจากการเปลี่ยนคลังข้อมูลและระบบธุรกิจปัจจุบันเป็นโปรแกรมประยุกต์ Oracle Suite
ตอบ Vtel Corporation ตั้งอยู่ที่เมือง Austin รัฐ Texas ทำระบบประชุมสื่อประสมดิจิตอลสำหรับอินทราเน็ตของธุรกิจ เอ็กซ์ทราเน็ตและอินทราเน็ต บริษัทวางแผนเปลี่ยนระบบธุรกิจที่ใช้ในปัจจุบันเป็นโปรแกรมประยุกต์ Oracle ระบบซอฟต์แวร์ธุรกิจบูรณาการและคลังข้อมูลจาก Oracle โดยเริ่มจากการรวม Vtel และCompression Labs Inc. ในเมือง San Jose รัฐ California และข้อเท็จจริงที่ว่าบริษัททั้งสองโตเกินกว่าที่จะใช้ระบบเชิงปฏิบัติการเดิมของเขา
2.) บทเรียนทางธุรกิจอะไรที่ บริษัทเรียนรู้จากการใช้คลังข้อมูลปัจจุบัน
ตอบ คลังข้อมูลปัจจุบันอยู่ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ Oracle นอกจากนี้คลังใหม่ยังรวมสารสนเทศหลายๆประเภท รวมทั้งเพิ่มข้อมูลการบริการลูกค้าสำหรับการดำเนินงานในต่างประเทศ เช่น เรื่องยอดขายการตลาด และข้อมูลการเงิน
3.) ข้อได้เปรียบและเสียเปรียบที่มีต่อผู้ใช้ของธุรกิจในการย้ายไปใช้โปรแกรมประยุกต์ Oracle Suite
ตอบ คลังข้อมูลใหม่รวมกิจกรรมซอฟต์แวร์ประจี่ทำหน้าที่บีบและแปลงข้อมูลจากฐานข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงเชิงสัมพันธ์ Oracle เดิมของบริษัทและย้ายไปเป็นคลังข้อมูลใหม่ซึ่งเป็นฐานข้อมูลหลายมิติจัดการโดยเครื่องแม่ข่าย Oracle Express ผู้ใช้จะใช้Discover ซึ่งเป็นเครื่องมือสอบถามและจัดทำรายงานเช่นเดียวกับเครื่องมืออื่นจากผลิตภัณฑ์ของ Oracle Express เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ
***********************
💬ข้อสอบย่อย
1.) ข้อใด ไม่ใช่ ความสำคัญของการนำฐานข้อมูลมาใช้A. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
B. ข้อมูลไม่เป็นอิสระต่อกัน
C. ข้อมูลถูกต้องเชื่อถือได้
D. ใช้ข้อมูลร่วมกันได้
2.) หน่วยข้อมูลที่มีความหมายต่อผู้ใช้ ที่เล็กที่สุด คือข้อใด
A. บิต
B. ไบท์
C. ฟิลด์
D. เรคคอร์ด
3.) ข้อมูลสถิติการใช้บริการห้องสมุดเป็นข้อมูลชนิดใด
A. ข้อมูลรูปภาพ
B. ข้อมูลชนิดตัวเลข
C. ข้อมูลชนิดข้อความ
D. ข้อมูลที่เป็นรูปแบบ
4.) ข้อใดคือความหมายของระบบกาารจัดการฐานข้อมูล
A. ชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในระบบติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล
B. โปรแกรมที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
C. โปรแกรมที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้
D. โปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว
5.) ข้อใดคือโปรแกรมที่เหมาะสมกับการนำมาใช้จัดการฐานข้อมูล
A. Namofreemotion
B. Microsoft Word
C. Microsoft PowerPoint
D. Microsoft Access
6.) ข้อใด ไม่ใช่ ข้อดีของการนำฐานข้อมูลมาใช้
A. สร้างปัญหาความขัดแย้งของข้อมูล
B. ควบคุมความถูกต้องของข้อมูลได้
C. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน
D. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
7.) การออกแบบฐานข้อมูล หลังจากวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้แล้ว ขั้นต่อไป คืออะไร
A. วิเคราะห์ปัญหา
B. เขียนโปรแกรม
C. ออกแบบฐานข้อมูล
D. ออกแบบโปรแกรม
8.) การบริหารระบบฐานข้อมูล ตรงกับข้อใด
A. Data Planning
B. Data Administration
C. Database Administration
D. ไม่มีข้อถูก
9.) โครงสร้างฐานข้อมูล มีกี่แบบ
A. 3 แบบ
B. 4 แบบ
C. 5 แบบ
D. 6 แบบ
10.) Hierarchical Structure ตรงกับข้อใด
A. โครงสร้างเชิงลำดับชั้น
B. โครงสร้างแบบเครือข่าย
C. โครงสร้างเชิงสัมพันธ์
D. โครงสร้างเชิงหลายมิติ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น